ยินดีต้อนรับผู้เข้าชมทุกท่านค่ะ

We will find a brighter day.

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการในพระราชดำริ




โครงการโปรยน้ำฟ้ามาสู่ดิน
       

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ในปีพ.ศ. 2498 ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้าแต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทำให้ประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม ทรงคิดคำนึงว่าน่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ จึงให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรผู้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ โครงการพระราชดำริฝนหลวงจึงก่อกำเนิดขึ้น ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน
     พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงวิเคราะห์การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ
       ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน ก่อนปฏิบัติการณ์ ท้องฟ้าโปร่ง แต่มีความชื้นสัมพัทธ์    ไม่ต่ำว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ปฏิบัติการโดยก่อเมฆโดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่นโปรยสารเคมีสูตร 1 ( ผงเกลือแป้ง ) บริเวณต้นลมของพื้นที่เป้าหมายที่ระดับความสูง 7,000 -8,000 ฟุต อนุภาคของ ผงเกลือแป้งจะทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวดูดความชื้นในอากาศ เกิดการควบแน่นกลายเป็นเม็ดน้ำและรวมตัวเป็นเมฆ
      ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น
     ขั้นตอนที่ 3 โจมตี เมฆอุ่นเริ่มเจริญเติบโตขึ้นจนถึงขั้นเริ่มแก่ตัว และกลุ่มเมฆนั้นเริ่มเคลื่อนเข้าสู่พท.เป้าหมาย จากนั้นจึงโจมตีกลุ่มเมฆด้วยเทคนิคแซนด์วิช ( Sandwich ) โดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 2 เครื่อง โปรยเกลือโซเดียมคลอไรด์ ( Sodium Chloride) ( สูตร 1 ) ทับยอดเมฆหรือฐานเมฆ อีกเครื่องหนึ่งโปรยผงยูเรีย ( สูตร4 ) เพื่อทำให้อุณหภูมิลดลงหรือเย็นลง ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด
     ในปัจจุบันนอกจากการแก้ปัญหาภัยแล้ง "ฝนหลวง" ยังได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย น้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลงและเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
 "ไทยทำไทยใช้ กังหันน้ำชัยพัฒนา"

        เนื่องจากปัญหามลพิษทางน้ำสูงขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมี
พระราชดำริเรื่อง  การพัฒนาน้ำเสีย วิธีกรองน้ำเสียวิธีต่าง ๆ แต่ไม่สามารถบรรเทาได้ จึงให้ประดิษฐ์เครื่องกล- เติมอากาศ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย โดยทรงได้แนวคิดจาก “หลุก” อุปกรณ์วิดน้ำเข้านา เป็นแนวคิดแบ่งเบาภาระรัฐบาล จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบ ศึกษาและวิจัยจัดสร้างเครื่องต้นแบบและร่วมกับกรมชลประทานผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้น เรียกว่า  “กังหันน้ำชัยพัฒนา”มีลักษณะ คือ มีใบพัดขับเคลื่อนน้ำและซองวิดน้ำให้สาดกระจายเพื่อให้สัมผัสอากาศได้ทั่วถึง ส่งผลให้ออกซิเจนในอากาศละลายในน้ำอย่างรวดเร็ว น้ำเสียถูกยกขึ้นมาแล้วตกลงน้ำ เกิดฟองถ่ายเทออกซิเจน  สามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียจากแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งเกษตรกรรม ปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นรวมทั้งการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
      เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่เดือนพ.ค. 32 และในวันที่ 2 ก.ค. 36 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น
"สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก"

 “หญ้าแฝก” เพื่อนรู้ใจ จับมือกันไว้...ป้องกันดินพัง

    หญ้าแฝกหรือ “ กำแพงที่มีชีวิต” มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ด้วยระบบรากลึกแผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพงช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านหน้าดินและช่วยเก็บความชุ่มชื้นของดินไว้ หญ้าแฝกเป็นพืชพื้นบ้านของไทยมีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก เพื่อให้ทราบพันธุ์ และวิธีการปลูกที่เหมาะสม แหล่งขยายพันธุ์หญ้าแฝกและสาธิตการปลูกเพื่อเผยแพร่ให้ปลูกในพื้นที่ๆ มีปัญหาเรื่องการชะล้างพังทลายของดิน
     หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อ จากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้ รากยาวเต็มที่ 1-3 ม. ขึ้นอยู่กับอายุและสายพันธุ์ ประโยชน์ของหญ้าแฝกมีมากมาย เช่น ปลูกตามพื้นที่ลาดชัน หรือ เขื่อน เพื่อป้องกันการกัดเซาะของผิวดิน หรือเพื่อปรับปรุงบำรุงดินที่เสื่อมโทรม และปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของ-สารพิษในแหล่งน้ำ เป็นต้น
    จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ มีผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า “ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมติถวายรางวัล The International Erosion Control Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ที่มา: http://siweb.dss.go.th/sci60/team100/artia/article1.htm

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554



                          ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้าชมบล็อก 




ทิพย์วรรณ  ทัศนา
(น้ำ)